ประเทศไทย กลุ่มประเทศ BRICS และรัฐอื่นๆ อีกหลายรัฐที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดยูเครนที่สวิสเป็นเจ้าภาพไม่ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับผลการเจรจาเมื่อวันอาทิตย์ (16 มิถุนายน)ที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีต่างประเทศยูเครน ดิมีโตร คูเลบา กล่าวว่าข้อความในคำประกาศได้รับการสรุปแล้ว ซึ่งเป็นไปตามจุดยืนที่เคียฟต้องการ โดยที่บูรณภาพของดินแดนของยูเครนท้ังหมดต้องได้รับการปกป้อง หรือเป็นเงื่อนไขของการเจรจาสันติภาพ
รายชื่อประเทศที่ลงนามในคำประกาศขั้นสุดท้ายของการประชุมสุดยอดยูเครนได้รับการแสดงโดยผู้จัดงานบนหน้าจอของศูนย์ข่าวที่รีสอร์ต Buergenstock ซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุมสุดยอดในสวิตเซอร์แลนด์ เอกสารนี้ลงนามโดย 80 ประเทศจาก 92 ประเทศ
แต่ประเทศไทย อาร์เมเนีย บาห์เรน บราซิล สำนักวาติกัน อินเดีย อินโดนีเซีย ลิเบีย เม็กซิโก ซาอุดีอาระเบีย สโลวาเกีย แอฟริกาใต้ สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไม่ได้ลงนามในคำประกาศ
รัศม์ ชาลีจันทร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นตัวแทนประเทศไทยที่เข้าร่วมประชุมSummit on Peace in Ukraineในคร้ังนี้
ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีปูตินของรัสเซียได้แถลงข่าวดักหน้าการประชุมSummit on Peace in Ukraineด้วยการยื่นข้อเสนอแผนสันติภาพสำหรับยูเครน โดยที่รัสเซียจะครอบครองดินแดนของลูฮันสก์ โดเน็ตส์ ซาโปริเชีย และเคอร์ซอน รวมท้ังไครเมีย และยูเครนต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกของนาโต้
การประชุมยูเครนจะจัดขึ้นสุดสัปดาห์นี้ที่รีสอร์ท Bürgenstock ใกล้เมืองลูเซิร์น ประกอบด้วย 92 ประเทศ และประมุขแห่งรัฐ 55 แห่ง ตลอดจนองค์กร 8 องค์กร รวมถึงสหภาพยุโรป สภายุโรป และสหประชาชาติ
อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ, ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน, ประธานาธิบดีลุยซ์ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ของบราซิล และผู้นำของประเทศอื่นๆ ไม่ได้เข้าร่วม
ผู้เข้าร่วมบางคน เช่น รองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริสของสหรัฐฯ และนายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ ของเยอรมนี ออกจากงานก่อนกำหนด
รัสเซียไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมสุดยอด เครมลินให้ความเห็นว่าการพยายามหาทางแก้ไขความขัดแย้งในยูเครนโดยไม่มีมอสโกเข้ามาเกี่ยวข้องนั้นไร้เหตุผลโดยสิ้นเชิงและไม่มีท่าว่าจะดีเลย
ที่มา Sputnik International